top of page

สำเนาของ ทำความรู้จัก Carbon Footprint จอมวายร้ายที่ก่อภาวะโลกรวน🌍⚡


🤔รู้หรือไม่? ทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ล้วนสร้างปริมาณก๊าซเรือนกระจก ซึ่งหากมีปริมาณมากเกินไปจะส่งผลให้ชั้นบรรยากาศมีการกักเก็บรังสีความร้อนไว้มากขึ้น ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น และส่งผลให้เกิด “ภาวะโลกรวน” อันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือ “Climate Change” โดยเราสามารถประเมินปริมาณของก๊าซเรือนกระจกได้จาก Carbon Footprint ที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรม และการกระทำต่างๆ ได้ ดังนั้นหากเราสามารถช่วยกันลด Carbon Footprint ได้ ก็สามารถช่วยให้ภาวะโลกรวนแปรปรวนน้อยลงได้เช่นกัน🌪🔥


เมื่อกล่าวถึงเรื่องราวของภาวะโลกรวน คำว่า Carbon Footprint อาจเป็นคำที่คุ้นหู แต่อาจมีหลายคนที่ยังไม่รู้ว่ามันคืออะไร เพราะเหตุใดหลายองค์กรจึงต้องหันมาร่วมด้วยช่วยกันลด Carbon Footprint ให้เหลือปริมาณน้อยลงให้มากที่สุด


👉Carbon Footprint คือ ปริมาณรวมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ เช่น มีเทน ไนตรัสออกไซด์ ไฮโดรฟลูโอคาร์บอน ที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์ บริการ รวมถึงวัฏจักรชีวิต อันเป็นแหล่งกำเนิดของก๊าซดังกล่าวที่มาจากกิจกรรมต่างๆ ทั้งการใช้ไฟฟ้า การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล กระบวนการผลิตจากภาคอุตสาหกรรมและภาคกสิกรรม ซึ่งแม้แต่การเลี้ยงสัตว์ก็สามารถสร้าง Carbon Footprint ได้เช่นกัน😁


❗การเกิด Carbon Footprint จึงเปรียบได้กับจอมวายร้ายของการเกิดภาวะโลกรวนที่มาจากเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่คิด ซึ่งการคำนวณ Carbon Footprint นั้นเป็นหนึ่งในแนวทางของการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาในทุกๆ กระบวนการของการผลิตสินค้า บริการ รวมถึงในทุกวัฏจักรชีวิต ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ แปรรูป จัดจำหน่าย ไปจนถึงการกำจัดของเสียทั้งจากภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือน


ดังนั้นทุกคนล้วนมีส่วนในการปล่อย Carbon Footprint ในทุกช่วงเวลา โดยเฉพาะจากพฤติกรรมการบริโภค ซึ่งกระบวนการผลิตอาหาร ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ มีการวิจัยไว้ว่า การผลิตเนื้อสัตว์มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุด และการทำฟาร์มยังทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในห่วงโซ่การผลิต โดยก๊าซเรือนกระจกจากการเกษตรมีทั้ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารและปรับพฤติกรรมการบริโภคให้เหมาะสม สามารถช่วยลด Carbon Footprint ได้ไม่น้อย


เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการลดปริมาณการปล่อย Carbon Footprint ภาคกสิกรรมการเกษตรของประเทศไทยจึงได้ร่วมกันรณรงค์ในการเปลี่ยนของเสียจากวัตถุดิบนำมาเข้าสู่กระบวนการผลิตพลังงานชีวมวล อาทิ การเปลี่ยนน้ำเสียจากบ่อบำบัดมันสำปะหลังมาเป็นพลังงานสะอาด ซึ่งเดิมทีน้ำเสียจากโรงงานมันสำปะหลังนั้นเป็นบ่อเกิดของการสร้างก๊าซเรือนกระจกปริมาณมาก เมื่อมีการนำนวัตกรรมพลังงานทางเลือกอย่าง Biogas ที่สามารถใช้เป็นพลังงานทดแทนน้ำมันเตา ผลิตไฟฟ้าให้กับโรงงานแป้งมัน และยังสามารถใช้เป็นก๊าซ EGV แจกจ่ายให้กับครัวเรือนรอบโรงงานเพื่อใช้ในการหุงต้ม ทั้งยังสามารถนำน้ำหลังจากการหมักมาทำเป็นปุ๋ยหมักที่สามารถนำกลับไปใช้ในการเกษตรได้อีกด้วย 🌾


เช่นเดียวกับการแก้ปัญหาการเกิด Carbon Footprint หรือการลดการสร้างก๊าซเรือนกระจกของรวมมิตรฟาร์ม ฟาร์มเลี้ยงไก่ขนาดใหญ่ที่ได้นำมูลไก่มาผลิตเป็น Biogas ซึ่งนอกจากจะช่วยลดมลภาวะแล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาเรื่องกลิ่น และน้ำเน่าเสียที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบได้อย่างแท้จริง😃


ดังนั้นกระบวนการผลิตพลังงานชีวมวล หรือ Biogas ซึ่งเป็นการใช้เชื้อเพลิงสะอาดจากชีวมวล มีองค์ประกอบทางเคมีที่สามารถเปลี่ยนรูปให้ได้เชื้อเพลิงที่มีความใกล้เคียงกับเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยจะไม่ส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ เป็นทางเลือกของการช่วยลด Carbon Footprint อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการ “เปลี่ยน” เพื่อวันข้างหน้าที่สามารถช่วยลดการนำเข้าพลังงานและยังสามารถสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย🌍🔥


#คนบันดาลไฟ #คนบันดาลไฟ2023 #ใครไม่ChangeClimateChange

#เปลี่ยนเพื่อชีวิตที่ดีกว่า #พลังงานสะอาด #กกพ #cleanenergyforlife

bottom of page