top of page

กกพ. + สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ร่วมมือส่งเสริมการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานสะอาด



“นวัตกรรม” คือสิ่งที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งอาจเป็นเทคโนโลยี ความคิด หรือผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น ซึ่งในประเทศไทยองค์กรที่สนับสนุนดูแลเรื่องนี้โดยตรง คือ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านอาชีพ การศึกษา เกษตรกรรม และสิ่งแวดล้อม


NIA ตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ที่มุ่งเน้นและสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดให้เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน รวมถึงแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาขยะมูลฝอย ซึ่งทั้ง 2 องค์กรได้เห็นพ้องต้องกันที่จะขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาขยะอย่างจริงจัง จึงเป็นที่มาของ 3 นวัตกรรมการจัดการ “ขยะ” ที่จะช่วยเติมพลังงานบวกทางความคิด และเติมแรงบันดาลใจ “การจัดการขยะ” พร้อมทั้งต่อยอดการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานไฟฟ้า ส่งเสริมการสร้างมูลค่าและระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งสามารถสร้างประโยชน์มหาศาล คืนสู่กลับชุมชน สังคม และประเทศ


#เสื้อผ้าเก่าและเศษผ้า สามมารถนำมาใช้งานต่อเป็นผ้าขี้ริ้ว หรือตัดเย็บเพิ่มเติม ดัดแปลงให้สวยงามเพื่อไม่ให้เสื้อผ้าต้องถูกทิ้งเป็นขยะ และพวกมันยังมีประโยชน์มากกว่านั้น คือการเป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ โดยเริ่มจากการคัดแยกส่วนที่ไม่ใช่เนื้อผ้า เช่น กระดุม ซิป ออกไปใช้ซ้ำได้ จากนั้นจะนำเข้าสู่กระบวนการเผาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า เกิดเป็นพลังงานหมุนเวียนคืนสู่ชุมชน


#วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นแกลบ ซังข้าวโพด ฟางข้าว ใบอ้อย ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์เดิมที่มีการเผาไหม้ในแปลงปลูกจนก่อเกิดมลพิษทางอากาศ วัสดุเหล่านี้เป็นอินทรียวัตถุชั้นดีที่กักเก็บพลังงานจากธรรมชาติสามารถนำมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าได้ เช่น ผลิตเป็นชีวมวลอัดแท่งซึ่งสะดวกต่อการใช้งาน


#กากมันสำปะหลัง ของเหลือทิ้งจากกระบวนการการผลิต สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบผลิตพลังงานสะอาดได้ จากรายงานสถิติของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี พ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีเนื้อที่เพาะปลูกมันสำปะหลังกว่า 9.4 ล้านไร่ มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ผลิตเป็นแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู และอุตสาหกรรมพลังงานชีวภาพนำมาผลิตเป็นเอทานอลบริสุทธิ์ 99.5% เพื่อผสมน้ำมันเบนซินเป็นแก๊สโซฮอล์ ทั้งนี้กระบวนการผลิตทำให้เกิดกากมันสำปะหลัง และน้ำเสียจำนวนมากและจึงมีการนำกากมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบผลิตก๊าซชีวภาพ เพื่อนำไปผลิตเป็นไฟฟ้าพลังงานสะอาด จำหน่ายให้การไฟฟ้าและกระจายสู่ชุมชน


“นวัตกรรม” คำนี้อาจดูเป็นสิ่งที่ใกลตัว แต่เมื่อได้รู้จักแล้วเราจะทราบว่ามีนวัตกรรมเกิดขึ้นหลายแบบจากหลายเหตุผล ซึ่งล้วนแล้วมีปณิธานเดียวกันคือการสร้างประโยชน์ให้โลกและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน ตัวอย่างเช่น การจัดการขยะ และ สร้างประโยชน์จากขยะโดยการเปลี่ยนเป็นพลังงานสะอาดในเวลาเดียวกัน




bottom of page