top of page

ไฟฟ้าจากไม้ยางพาราจากพืชเศรษฐกิจ…สู่การเป็นวัตถุดิบป้อนโรงไฟฟ้าชีวมวล


การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้ผลิตต้องคำนึงถึงเสมอ ก็คือ “วัตถุดิบเชื้อเพลิง” ซึ่งแน่นอนว่าหากมีเชื้อเพลิงในบริเวณพื้นที่โรงไฟฟ้าชีวมวลเป็นจำนวนมาก ก็จะส่งผลดีต่อการผลิตไฟฟ้าและเป็นการสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดในพื้นที่ด้วยเช่นกัน


การยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท. และ บมจ. ทีทีซีแอล (TTCL) จึงเกิดแนวคิดและร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน ตามมาตรฐานในระดับสากล” เพื่อมุ่งพัฒนาสวนยางตามมาตรฐาน ยกระดับเพิ่มมูลค่าให้กับไม้ยางและผลิตภัณฑ์ไม้ยางแปรรูป พร้อมหาช่องทางตลาดทั้งในและต่างประเทศให้แก่เกษตรกร และสิ่งหนึ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาในแผนการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร นั่นคือการนำเศษไม้ยางพารามาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดชีวมวล


หลังจากการเก็บผลผลิตยางพารา ไม้บางส่วนถูกนำไปแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ แต่ผลที่เกิดจากการแปรรูปนี้ คือการที่เราสามารถใช้ไม้ท่อนได้เพียง 50% ของไม้ทั้งหมด เพราะในกระบวนการแปรรูปจะมีเศษกิ่ง เศษไม้ยางพารากว่า 50% ที่เหลือทิ้งเสมอ บางส่วนจึงถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมไม้อัด จำพวกไม้ MDF (Medium Density Fiber Board) และพาร์ติเกิ้ลบอร์ด (Particle Board) แต่ก็มีมากเกินความต้องการจนทำให้เศษไม้ยางพาราราคาตกและเหลือทิ้งจำนวนมาก ซึ่งทางการยางแห่งประเทศไทยมองว่านี่คือของดีที่ไม่ควรเสียเปล่าและไม่จำเป็นต้องทิ้ง เพราะเศษไม้ยางพารามีคุณสมบัติในการเป็นเชื้อเพลิงที่ดีเหมาะแก่การนำมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดจากชีวมวล


แน่นอนว่าสิ่งที่เห็นได้ทันทีเมื่อเรานำเศษไม้ยางพาราเข้าสู่กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล คือการจัดการวัตถุดิบเชื้อเพลิงที่เคยถูกมองว่าเป็นของต้องทิ้งเพราะมีมากเกินจำเป็น ให้กลับมามีประโยชน์อีกครั้ง และสิ่งสำคัญคือการที่ชาวบ้านในพื้นที่การผลิตจะมีรายได้เพิ่มขึ้น และพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมถูกใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคนอย่างยั่งยืน


Comments


bottom of page