top of page

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด สนามฟุตบอลพลังงานสะอาดแสงอาทิตย์


ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา “พลังงานสะอาดแสงอาทิตย์” กลายเป็นพลังงานทางเลือกสำหรับทุกคน รวมไปถึงห้างร้าน ธุรกิจต่างๆ ซึ่งเรามักจะเห็นภาพการติดแผงโซลาร์เซลล์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าไว้บนหลังคาลานจอดรถบ้าง หลังคาตึกบ้าง และบทความนี้ก็จะนำเสนอการใช้พลังงานสะอาดแสงอาทิตย์ในสถานที่ที่คุณอาจไม่เคยเห็น “สนามฟุตบอลพลังงานแสงอาทิตย์”


การผนึกกำลังกันระหว่างกลุ่มพันธมิตรของทีม "ปราสาทสายฟ้า" บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด กับ EA สโมสรฟุตบอลระดับประเทศของไทย นอกจากจะเกิดความร่วมมือทางด้านกีฬาแล้ว ครั้งนี้ยังเป็นโอกาสสำคัญที่พันธมิตรทีมปราสาทสายฟ้าจะได้ร่วมกันสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นการร่วมกันติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ที่สนามช้างอารีนา, โครงการบุรีรัมย์ คาสเซิล และโรงแรมอมารี บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ใช้เองในพื้นที่ของ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เป็นเวลา 15 ปี

โดยทั้ง 3 สถานที่ ได้ทำการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ทั้งหมด 3,032 ตารางเมตร แบ่งเป็น สนามช้างอารีนา 1,080 ตารางเมตร, โครงการบุรีรัมย์ คาสเซิล 976 ตารางเมตร และโรงแรมอมารี บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 976 ตารางเมตร โดยแผงโซลาร์เซลล์ 3,032 ตารางเมตร สามารถผลิตไฟฟ้าเฉลี่ยได้ 2,475.00 หน่วยต่อวัน หรือ 903,375.00 หน่วยต่อปี


การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จะทำให้ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด สามารถประหยัดงบประมาณได้มากถึง 25 % จากการเสียค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าแบบปกติ โดยปีแรกของการติดตั้ง ปราสาทสายฟ้า จะสามารถประหยัดงบประมาณที่จะต้องใช้จ่ายค่าไฟฟ้าถึง 2,529,450 บาท (สนามช้างอารีนา 900,991 บาท, โครงการบุรีรัมย์ คาสเซิล 814,229 บาท และโรงแรมอมารี บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 814,229 บาท) ทำให้ตลอด 15 ปีของสัญญา บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จะประหยัดเงินได้มากถึง 37,941,750 บาท


การร่วมมือกันครั้งนี้เพื่อนำเมืองบุรีรัมย์ให้เดินหน้าสู่การเป็น “BURIRAM GO GREEN & CLEAN” โมเดล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์โลก และการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ทำให้ “ปราสาทสายฟ้า” บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลแรกของเมืองไทย ที่ใช้พลังงานบริสุทธิ์จากแสงอาทิตย์แบบเต็มรูปแบบ เพื่อเป็นการช่วยอนุรักษ์โลก และการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตามเจตนารมณ์ของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ที่อยากเห็นทุกชีวิตมีคุณภาพที่ดีขึ้นด้วยพลังงานสะอาด


Comments


bottom of page