“ก๊าซเรือนกระจก” ที่มีอยู่บนโลกใบนี้มีมากมายหลายชนิด ซึ่งปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มีมากที่สุดก็คือ “ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์” อันเกิดมาจากการกระทำของมนุษย์ล้วนๆ ไม่ว่าจะเป็น จากภาคพลังงาน ภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ภาคก.ารใช้ประโยชน์ที่ดินและป่าไม้ และของเสีย ซึ่งล้วนส่งผลต่อการเกิด “ภาวะโลกรวน” (Climate Change) หรือการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ที่ทำให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก🍀🌎
.
ทุกวันนี้จึงเห็นว่าในหลายๆ ประเทศ เร่งเดินหน้านโยบายลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกกันอย่างจริงจัง อย่าง “ไต้หวัน” หนึ่งในประเทศแถบเอเชีย ที่มีนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม และได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาชน จนนโยบายดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยเมื่อ ค.ศ. 2021 ไต้หวันได้ประกาศเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายใน ค.ศ. 2050 หรือ “2050 Net-Zero Transition” ที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนผ่านใน 4 มิติ ได้แก่ พลังงาน อุตสาหกรรม วิถีชีวิต และสังคม ผ่าน 12 ยุทธศาสตร์สำคัญ ได้แก่
พลังงานลมและแสงอาทิตย์ พลังงานไฮโดรเจน นวัตกรรมพลังงานทางเลือกอื่นๆ ระบบการบริหารจัดการและกักเก็บพลังงาน การประหยัดพลังงานและการเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยี Carbon Capture Utilization & Storage (CCUS) การใช้รถยนต์ไฟฟ้า การรีไซเคิลและ Zero Waste การพัฒนาแหล่งธรรมชาติเพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไลฟ์สไตล์สีเขียว ระบบการเงินสีเขียว และระบบการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม (Just Transition) ซึ่งล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมเดินหน้าสู่ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ด้วยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คน และกระบวนการผลิตและการใช้ทรัพยากรของภาคเอกชน เพื่อให้ไต้หวันสามารถลดคาร์บอนในระดับสากลได้ในเร็ววันนั่นเอง
.
👉จากความสำเร็จในนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไต้หวัน ซึ่งหากไทยนำมาเป็นบทเรียนก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะไทยก็ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเช่นกัน ตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) ซึ่งไทยเป็นภาคี และมีเป้าหมายที่จะลดก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ใน ค.ศ. 2065 🥰
.
พร้อมกันนี้ ไทยก็มีโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model : BCG) หรือโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่มีเป้าหมายในการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนควบคู่ไปกับการอนุรักษ์คล้ายกับนโยบาย Net-Zero Transition ของไต้หวัน จึงถือเป็นโอกาสที่ดีในการถอดบทเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนและเรียนรู้จากแนวปฏิบัติที่ดีจากไต้หวันมาปรับใช้กับบริบทของไทยได้อีกด้วย
ขณะเดียวกันประชาชนคนไทยทุกคน ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกันถนอมโลกให้อยู่อย่างยั่งยืนไปตราบนานเท่านาน เพียงหยิบฉวยโมเดลการลดก๊าซเรือนกระจกของไต้หวันมาเป็นแบบอย่าง อย่างเรื่องง่ายๆ ที่เริ่มต้นได้จากบ้านของเราเอง เช่น การแยกขยะ เพื่อนำไปสู่การรีไซเคิล และการกำจัดอย่างถูกวิธี ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม หรือการใช้ประโยชน์จากพลังงานสะอาดที่ไม่สร้างมลพิษ เช่น การใช้ยานยนต์ EV ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า รวมถึงใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ เช่น ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในบ้าน หรือเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ระบบชาร์จจากโซลาร์เซลล์ เป็นต้น
.
ลงมือ “เปลี่ยน” เพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า เพราะใครไม่ Change Climate Change แน่นอน! 🌍⚡️
.
.
#คนบันดาลไฟ#คนบันดาลไฟ2023#ใครไม่ChangeClimateChange
#เปลี่ยนเพื่อชีวิตที่ดีกว่า#พลังงานสะอาด#กกพ#cleanenergyforlife
Comments